อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ทบทวน

           ประโยคภาษา เป็นประโยคที่ประกอบด้วยตัวอักษร ที่กล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเชิงบรรยาย
เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงของสิ่งนั้น
           ประโยคสัญลักษณ์ เป็นประโยคที่ประกอบด้วยตัวเลข ที่เขียนแทนประโยคภาษา เพื่อความ
สะดวกในการคำนวณ (ข้อสำคัญ คือ ประโยคสัญลักษณ์จะมีตัวแปรหรือไม่มีก็ได้)
ให้นักเรียนพิจารณาประโยคภาษาและประโยคสัญลักษณ์แต่ละคู่ต่อไปนี้
                ในทางคณิตศาสตร์เราเขียนประโยคสัญลักษณ์แทนประโยคภาษาเพื่อความสะดวกในการคิดคำนวณ
               ให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยคภาษาและ เขียนแทนด้วย ประโยคสัญลักษณ์ มาอย่างละ 3
ประโยค
นอกจากนี้นักเรียนยังเคยรู้จักกับสัญลักษณ์ต่อไปนี้
< แทนความสัมพันธ์ น้อยกว่า หรือไม่ถึง
> แทนความสัมพันธ์ มากกว่า หรือเกิน
และ ≠ แทนความสัมพันธ์ ไม่เท่ากับ หรือไม่เท่ากัน
นอกจากสัญลักษณ์ดังกล่าวแล้ว เรายังใช้สัญลักษณ์
≤ แทนความสัมพันธ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ
≥ แทนความสัมพันธ์ มากกว่าหรือเท่ากับ
                                    เช่น
x ≤ 2 อ่านว่า x น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2
หมายถึง x < 2 หรือ x = 2
อีกนัยหนึ่งคือ x ไม่เกิน 2
a ≥ -3 อ่านว่า a มากกว่าหรือเท่ากับ -3
หมายถึง x > -3 หรือ x = -3
อีกนัยหนึ่งคือ x ไม่น้อยกว่า -3
กิจกรรมที่ 1: ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายและการนาเสนอ
                               1. ให้นักเรียนเขียนประโยคเกี่ยวกับจำนวนต่อไปนี้เป็น ประโยคสัญลักษณ์ เมื่อให้ x แทนจำนวน
จำนวนหนึ่ง


2. ให้นักเรียนเปลี่ยนประโยคต่อไปนี้ให้เป็นประโยคภาษา โดยให้ตัวแปรแทนจำนวนจำนวนหนึ่ง
จากกิจกรรมที่ 5.1 นักเรียนก็ได้ศึกษาแล้วพบว่า ในแต่ละอสมการอาจมีตัวแปรหรือไม่มีตัว
แปรก็ได้ ถ้าอสมการมีตัวแปร ตัวแปรนั้นจะแทนจำนวน ในกรณีที่ไม่ได้ระบุเงื่อนไขของตัวแปร ให้ถือว่าตัวแปรนั้นแทนจำนวนจริงใด ๆนอกจากนี้ยังสามารถสรุปได้ดังนี้

                 อสมการซึ่งพหุนามในอสมการเป็นพหุนามที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียวและดีกรีพหุนามเท่ากับ 1   เรียกว่า อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ตัวอย่างของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เช่น
1) 2x < 6
2) 3a + 2 > 7
3)  ≤ 9
4) 1.2m – 5 ≠ 7
5) 5x ≥ 4x + 9
อสมการที่มีตัวแปรอาจเป็นจริงหรือไม่จริงขึ้นอยู่กับค่าของตัวแปร เช่น
อสมการ 2x < 6 เป็นจริง เมื่อแทน x ด้วย 2 นั่นคือ
อสมการที่มีตัวแปรอาจเป็นจริงหรือไม่จริงขึ้นอยู่กับค่าของตัวแปร เช่น
อสมการ 2x < 6 เป็นจริง เมื่อแทน x ด้วย 2 นั่นคือ
2(2) < 6
4 < 6 เป็นจริง
อสมการ 2x < 6 ไม่เป็นจริง เมื่อแทน x ด้วย 4 นั่นคือ
2(4) < 6
8 < 6 ไม่เป็นจริง
เรียกจำนวนที่แทน x ในอสมการ 2x < 6 แล้วทำให้ 2x < 6 เป็นจริงว่า คาตอบของอสมการ2x < 6
อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว อาจมีคำตอบได้หลายลักษณะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 จงหาคำตอบของอสมการ x ≥ 5
วิธีทา หาจำนวนแทนใน x ถ้าแทนค่า x = 7 ในอสมการจะได้
7 ≥ 5
ซึ่งทำให้อสมการเป็นจริง ดังนั้น 7 จึงเป็นคำตอบหนึ่งของอสมการ
ทดลองแทนค่า x ด้วยจำนวนอื่น ๆ อีกจะพบว่ามีจำนวนอีกหลายจำนวนที่ทำให้อสมการ x ≥ 5 เป็นจริง เช่น………………………………………………………
ดังนั้น คำตอบของอสมการ x ≥ 5 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ 5
ตอบ จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ 5

ตัวอย่างที่ 2 จงหาคำตอบของอสมการ a ≠ 10
วิธีทา หาจำนวนแทนใน a ถ้าแทนค่า a = 5 ในอสมการจะได้
5 ≠ 10
ซึ่งทำให้อสมการเป็นจริง ดังนั้น 5 จึงเป็นคำตอบหนึ่งของอสมการ
ทดลองแทนค่า a ด้วยจำนวนอื่น ๆ อีกจะพบว่ามีจำนวนอีกหลายจำนวนที่ทำให้อสมการ a ≠ 10 เป็นจริง เช่น………………………………………………………
ดังนั้น คำตอบของอสมการ a ≠ 10 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 10
ตอบ จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 10
ตัวอย่างที่ 3 จงหาคำตอบของอสมการ x < x + 1
วิธีทา หาจำนวนแทนใน x ถ้าแทนค่า x = 3 ในอสมการจะได้
3 < 3 + 1
3 < 4
ซึ่งทำให้อสมการเป็นจริง ดังนั้น 3 จึงเป็นคำตอบหนึ่งของอสมการ
ทดลองแทนค่า x ด้วยจำนวนอื่น ๆ อีกจะพบว่ามีจำนวนอีกหลายจำนวนที่ทำให้อสมการ x < x + 1 เป็นจริง เช่น……………………………………………………
ดังนั้น คำตอบของอสมการ x < x + 1 คือ จำนวนจริงทุกจำนวน
ตอบ จำนวนจริงทุกจำนวน
ตัวอย่างที่ 4 จงหาคำตอบของอสมการ m – 3 > m
วิธีทา เนื่องจากไม่มีจำนวนใดแทน m ใน m – 3 > m แล้วทำให้อสมการเป็นจริง
ดังนั้น ไม่มีจำนวนจริงใดเป็นคำตอบของอสมการ m – 3 > m
ตอบ ไม่มีจำนวนจริงใดเป็นคำตอบ

ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นว่าคำตอบของอสมการมี 3 แบบ ดังนี้
1. อสมการที่มีจำนวนจริงบางจำนวนเป็นคำตอบ เช่น อสมการในตัวอย่างที่ 1 และตัวอย่างที่ 2
2. อสมการที่มีจำนวนจริงทุกจำนวนเป็นคำตอบ เช่น อสมการในตัวอย่างที่ 3
3. อสมการที่ไม่มีจำนวนจริงใดเป็นคำตอบ เช่น อสมการในตัวอย่างที่ 4
คำตอบของอสมการ อาจเขียนแสดงคำตอบโดยใช้กราฟบนเส้นจำนวนได้ ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงคำตอบของกราฟจะใช้ดังนี้ คือ


จุด(จุดทึบ) หมายความว่า ตัวเลข ณ จุดนั้น คือคำตอบของอสมการนั้น
จุด(จุดโปร่ง) หมายความว่า ตัวเลข ณ จุดนั้น ไม่ใช่คำตอบของอสมการ
(ลูกศร)หมายความว่า ถ้าชี้ไปทางขวามือจะแสดงจำนวนที่มีค่ามากขึ้น ถ้าชี้ไปทางซ้ายมือจะแสดงจำนวนที่มีค่าน้อยลง
ตัวอย่างการเขียนกราฟแสดงคำตอบของอสมการ ดังนี้
ตัวอย่างที่ 5 กราฟแสดงคำตอบของอสมการ x < 5 เป็นดังนี้

ตัวอย่างที่ 6 กราฟแสดงคำตอบของอสมการ x ≥ -2 เป็นดังนี้

กิจกรรมที่ 2 : ทักษะการสื่อสาร สื่อความหมายและการนาเสนอ
1. ให้นักเรียนเขียนกราฟแสดงคำตอบของอสมการในแต่ละข้อต่อไปนี้
2. กราฟแสดงคำตอบในแต่ละข้อต่อไปนี้ แสดงจำนวนใดบ้าง




ที่มาจากhttp://goo.gl/UiM9Cn

1 ความคิดเห็น: